วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ตารางธาตุ (Periodic Table)
การจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ของนักเคมียุคต่าง ๆ

พ.ศ. 2360 (ค.ศ. 1817) โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์ (Johann Dobereiner) เป็นนักเคมีคนแรกที่พยายามจัดธาตุเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ธาตุตามสมบัติที่คล้ายคลึงกัน เรียกว่า ชุดสาม และพบว่าธาตุกลางจะมีมวลอะตอมเป็นค่าเฉลี่ยของธาตุที่เหลือ ตัวอย่างธาตุชุดสามของเดอเบอไรเนอร์ เช่น Na เป็นอะตอมกลางระหว่าง Li กับ K มีมวลอะตอม 23 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของธาตุ Li ซึ่งมีมวลอะตอม 7 กับธาตุ K ซึ่งมีมวลอะตอม 39 แต่เมื่อนำหลักของธาตุสามไปใช้กับธาตุอื่นที่มีสมบัติคล้ายกัน มวลอะตอมของธาตุกลางมิได้มีค่าเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของธาตุที่เหลือ หลักชุดสามของเดอเบอไรเนอร์จึงไม่เป็นที่ยอมรับ





 
 

 

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557


ตารางธาตุ

         ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบธาตุแล้วเป็นจำนวนมาก ธาตุเหล่านั้นอาจมีสมบัติบางประการคล้ายกันแต่ก็มีสมบัติบางประการที่แตกต่างกัน จึงยากที่จะจดจำสมบัติต่างๆ ของแต่ละธาตุได้ทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์จึงหากฎเกณฑ์ในการจัดธาตุที่มีสมบัติคล้ายกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันเพื่อง่ายต่อการศึกษา


วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ


     โยฮัน เดอเบอไรเนอร์ ชาวเยอรมัน จัดกลุ่มธาตุเป็นกลุ่ม ๆละ 3 ธาตุ ตามสมบัติที่คล้ายคลึงกัน เรียกว่า ชุดสาม (Triad ) พบว่าธาตุตรงกลางในชุด จะมีมวลอะตอมเป็นค่าเฉลี่ยของอีกสองธาตุ หลักการดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากใช้อธิบายธาตุกลุ่มอื่นไม่ได้     จอห์น นิวแลนด์ ชาวอังกฤษ เสนอแนวคิดว่า ถ้าเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก จะพบว่า ธาตุลำดับที่ 8 ในแต่ละกลุ่ม จะมีสมบัติคล้ายคลึงกันเสมอ แต่แนวคิดดังกล่าวอธิบายได้ดีสำหรับธาตุ 20 ธาตุแรกเท่านั้น     ยูลิอุส โลทาร์ ไมเออร์ ชาวเยอรมัน และ ดิมิทรี  อิวา - โนวิช  เมนเดเลฟ ชาวรัสเซีย เสนอกฎพีริออดิก (Periodic Law) กล่าวว่า "ถ้าเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก จะพบว่าธาตุจะมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วงๆ" ตารางธาตุยุคแรกจึงเรียกว่า ตารางพีริออดิกของเมนเดเลฟ 

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


สาขาย่อยของวิชาเคมี 
    วิชาเคมีมักแบ่งออกเป็นสาขาย่อยหลัก ๆ ได้หลายสาขา นอกจากนี้ยังมีสาขาทางเคมีที่มีลักษณะที่ข้ามขอบเขตการแบ่งสาขา และบางสาขาก็เป็นสาขาที่เฉพาะทางมาก

เคมีวิเคราะห์
เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) คือการวิเคราะห์ตัวอย่างสาร เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้าง.

ชีวเคมี
ชีวเคมี(Biochemistry) คือการศึกษาสารเคมี ปฏิกิริยาเคมี และ ปฏิสัมพันธ์ทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต

เคมีอนินทรีย์
เคมีอนินทรีย์(Inorganic Chemistry) คือการศึกษาคุณสมบัติและปฏิกิริยาของสารประกอบอนินทรีย์ อย่างไรก็ตามการแบ่งแยกระหว่างสาขาทางอินทรีย์และสาขาอนินทรีย์นั้น ไม่ชัดเจน และยังมีการเหลื่อมของขอบเขตการศึกษาอยู่มาก เช่นในสาขา organometallic chemistry

เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์(Organic Chemistry) คือการศึกษาโครงสร้าง, สมบัติ, ส่วนประกอบ และปฏิกิริยาเคมี ของสารประกอบอินทรีย์

เคมีฟิสิกส์
เคมีเชิงฟิสิกส์(Physical Chemistry) คือการศึกษารากฐานทางฟิสิกส์ของระบบและกระบวนการทางเคมี ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น นักเคมีเชิงฟิสิกส์มักสนใจการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเชิงของพลังงาน





เคมี คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอมเพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊สโลหะ หรือผลึกคริสตัล เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด